ผู้นำในการผลิตหัววัดชนิด Germanium

      ตั้งแต่คศ. 1980 จนมาถึงปัจจุบันกินเวลากว่า 40 ปีแล้วที่ CanberraTM เป็นผู้นำในการผลิตหัววัดชนิด Germanium เรื่อยมา จนมาถึงปัจจุบัน CanberraTM  ได้เข้ารวมกับ Mirion Technologies.Inc โดยยังเป็นที่รู้จักกันดีในนาม Mirion Canberraและยังคงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้อย่างดีอีกทั้งยังมีมีผลิตภัณฑ์เพื่อสนับสนุนงานวิจัยต่าง ๆ ครอบคลุมเพิ่มมากขึ้นเช่น งานในกลุ่ม Spectroscopy, Dosimetry, Radiation monitoring, Environment, Health physics และอีกมากมาย  ในระหว่างนั้นทาง CanberraTM ได้ทำงานวิจัยและสนับสนุนงานวิจัยในงานทาง Synchrotron มาโดยตลอด เป็นเหตุให้หัววัด Germanium ได้ถูกพัฒนามาเป็นระยะเวลานานจนสามารถสนับสนุนงานวิจัยได้หลายด้าน โดยที่เป็นที่นิยมมีดังนี้

  • Synchrotron (EXAFS, diffraction, medical beam lines)
  • Nuclear Physics (tracking)
  • Compton cameras (imaging)
  • Non destructive control
  • Radiography
  • Medical (BNCT, Angiography)

โดยมีระบบการนับวัดแบ่งได้โดยสังเขปดังนี้

      1. Discrete Array detector  

      หัววัดแบบ Array ที่ผลิตโดย Mirion ประกอบขึ้นจากหัววัดชนิด LEGe™ หรือ Ultra-LEGe™ ติดตั้งแบบแยกส่วนกับ Preamp และเนื่องจากหัววัดนี้มีอัตราการนับวัดสูงจึงเลือกใช้ Preamp ชนิด Integrated-Transistor Reset Preamp (I-TRP) ทำให้หัววัดชนิดนี้จะวัดได้ประสิทธิภาพดี ในความละเอียดของพลังงานที่มีการประมวลผลพัลส์สั้น (shaping) หัววัด Ultra-LEGe สามารถทำงานได้ดีในการขยายพลังงานประมาณ 300 eV ขึ้นอยู่กับชนิดของ window และด้วยขนาดกับการวางตำแหน่ง array ที่มีข้อจำกัดหัววัดชนิดนี้จึงจำกัด จำนวนสูงสุดไว้ที่ประมาณ 36 channels

      2. MONOLIHIC ARRAY DETECTORS 

      ปัจจุบัน Mirion มีความสามารถในการสร้างหัววัด Gemanium แบบแบ่งส่วนโดยใช้เทคนิค photolithographic ขั้นสูง เทคโนโลยีนี้นำไปสู่การผลิตหัววัดแบบ pixel ที่เกิดจากผลึก Germanium ชิ้นเดียวตัดแบ่งไปติดตั้งกับหัววัดหลายๆ หัวประกอบเข้าด้วยกัน ทำให้หัววัดแบบ monolithic ให้ความหนาแน่นของพื้นที่การวัดที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับหัววัดแบบ array แบบไม่ต่อเนื่อง กล่าวคือ หัววัดแบบ monolithic พื้นที่การวัดจะกินพื้นที่ทั้ง 100% ของขนาดพื้นที่ทั้งหมดเนื่องจากไม่มีรอยต่อระหว่าง element  แต่หัววัดแบบ array แบบไม่ต่อเนื่องจะมีพื้นที่ตรวจวัดเพียง 35% ถึง 55% ของพื้นที่ทั้งหมดโดยส่วนที่ขาดหายไปเกิดจากช่องว่างระหว่าง element นั้นเอง


      3. SEGMENTED PLANAR GERMANIUM EGPS SERIES

      หัววัดในรุ่น EPGS ใช้เทคนิค photolithographic ขั้นสูงในการผลิตเช่นเดียวกันและเป็นหัววัดแบบแถบที่ดีที่สุดและมีจำหน่ายทั่วโลกโดย ด้วยขนาดของหัววัดที่ใหญ่ (pixels, strips) และสามารถเลือกรูปแบบได้หลากหลาย (straight strips, circular, single หรือ double sided) จึงนิยมใช้งาน สำหรับการวัดรังสีเอกซ์และรังสีแกมมาประสิทธิภาพสูง ในงานฟิสิกส์, ฟิสิกส์ดาราศาสตร์, การควบคุมการตรวจสอบโดยไม่ทำลาย และเภสัชกรรม ฯลฯ อีกจุดเด่นที่สำคัญคือมีความละเอียดสูงที่สุดที่พลังงาน <130 eV ที่ 5.9 keV (ขึ้นกับตำแหน่งและอัตราการนับวัด) และสัญญาณแทรกข้าม (Crosstalk) น้อยเพียง 1%